![]() |
![]() |
รายชื่อสถาบันที่ได้รับทุนสนับสนุน
|
||||
1.
|
สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี | |||
2.
|
โรงพยาบาลพระปกเกล้า |
|
||
3.
|
วิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี | |||
4.
|
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาด |
๑.โครงสร้างและการบริหารสถาบัน |
|
สภาบันราชภัฏรำไพพรรณีได้แบ่งโครงสร้างและการบริหารสถาบันเช่นเดียวกันกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปมีหน่วยงานหลักทางวิชาการ
คือ คณะต่างๆและหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิชาการและปฏิบัติภารกิจอื่น
ๆ ของสถาบัน
|
|
๒.ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ของสถาบันคณะต่าง ๆ |
|
ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฎ พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๗ กำหนดว่า " ให้สถาบันราชภัฎเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู" |
|
การบริหารและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจที่ระบุไว้มาตรา ๗ ทั้งในระดับสถาบันและระดับคณะที่เป็นหน่วยงานหลัก จึงได้กำหนดปรัชญาวิสัยทัศน์ พันธกิจ ในการดำเนินการไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ |
|
ปรัชญา | |
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น | |
วิสัยทัศน์ | |
๑.เป็นสถาบันอุดมศึกษาของปวงชน ที่กระจายโอกาสแก่ปวงชนให้เข้าถึงการศึกษาที่หลากหลายได้ | |
๒.เป็นเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนและท้องถิ่น | |
๓.มีการพัฒนาองค์ความรู้ การวิจัยและภูมิปัญญาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่น | |
๔.เป็นสถาบันที่ระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต | |
พันธกิจ | |
๑.ให้การศึกษาชั้นสูงทางวิชาการและวิชาชีพ | |
๒.พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน | |
๓.พัฒนาองค์ความรู้และการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น | |
๔.ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน | |
๕.เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาไม้ผลเมืองร้อนและศูนย์ข้อมูลทางธุรกิจ | |
วัตถุประสงค์ | |
๑.เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น | |
๒.เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล และหน่วยงานทางการศึกษา | |
๓.เพื่อพัฒนาศาสตร์ทางการศึกษา ด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้า และวิจัย | |
๔.เพื่อศึกษา แสวงหา พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการศึกษาให้แก่ท้องถิ่น | |
๕.เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษา พัฒนา อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น | |
๖.เพื่อให้บริการศาสตร์ทางด้านการศึกษาแก่บุคลากรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น | |
๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบัน |
|
ยุทธศาสตร์ที่ ๑: ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ | |
ยุทธศาสตร์ที่ ๒: ใช้การวิจัยเสริมบทบาท การเป็นอุดมศึกษาพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น | |
ยุทธศาสตร์ที่ ๓: ปฏิรูปการบริหารงานและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ | |
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนและท้องถิ่น | |
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : พัฒนาครูให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา | |
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ :แผนพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรให้สอดคล้องกับการเป็นนิติบุคคล | |
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ | |
๔.บุคลากรของสถาบัน |
|
บุคลากรของสถาบันที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา ๒๕๔๔ ทั้งอาจารย์ ข้าราชการพลเรือน ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ทั้งหมด ๓๙๐ คน | |
๕.การจัดการศึกษา |
|
ภารกิจในการจัดการศึกษาหรือการผลิตบัณฑิต เป็นภารกิจหลักของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสถาบันราชภัฏรำไพพรรณีในปัจจุบันนี้ผลิตบัณฑิตเพื่อออกไปรับใช้สังคม ๓ สาขา คือสาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาศิลปศาสตร์ | |
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
เดิมมีชื่อว่าโรงพยาบาลจันทบุรีโดยเมื่อปี พ.ศ. 2480 คุณหลวงนรินทร์ประสาทเวชช์
อดีตสาธารณสุขมณฑลจันทบุรี ขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดจันทบุรีอยู่นั้น
ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มโดยติดต่อกับกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยเพื่อที่จะให้การดำเนินการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นในจังหวัดจันทบุรี
กรมสาธารณสุขจึงได้ขอให้คณะกรรมการจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีขุนประสงค์สุขการีเป็นข้าหลวงประจำจังหวัด
จัดหาพื้นที่ที่จะก่อสร้างคณะกรรมการจังหวัดจันทบุรี ได้เลือกเอาพื้นที่ท้ายเนินปลัด
(หรือเนินป่าโรงไห) ริมถนนเลียบเนินตรงข้ามกับทุ่งนาเชย เป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาล
มีเนื้อที่ประมาณ 77 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา (ตามโฉนดเลขที่ 5754 มีจำนวน
74 ไร่ 20 ตารางวา)
|
|
การก่อสร้างครั้งแรกได้เริ่ม เมื่อ พ.ศ. 2481 โดยกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสรรเงินงบประมาณจำนวน 50,000,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างอาคารต่าง ๆ และได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2841 เรือนจำจังหวัดจันทบุรี กรมราชทัณฑ์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง อาคารที่ก่อสร้างในครั้งแรก คือ | |
จากการประชุมคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ได้มีมติเห็นสมควรดำเนินการพัฒนาภาคตะวันออกให้เจริญยิ่งขึ้น
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร และ การคมนาคม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง
ประกอบด้วยพระบำราศนราดูร ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาจังหวัดภาคตะวันออกโดยลำดับมา
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้วางโครงการให้กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยขึ้นที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า
จันทบุรี เพื่อผลิตพยาบาลซึ่งกำลังขาดแคลนอยู่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ
|
|
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
จันทบุรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่
๗ โดยทรงรับวิทยาลัยพยาบาลแห่งนี้ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ตั้งแต่เปิดทำการปี
พ.ศ. ๒๕๐๕ จนถึงสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗
|
|
พันธกิจของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี | |
ผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์
และพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขให้เป็นผู้มีสมรรถนะเชิงวิชาชีพ สร้างองค์ความรู้
บริการวิชาการแก่สังคมและธำรงเอกลักษณ์ไทยด้วยระบบบริการงานที่มีประสิทธิภาพ
|
|
วัตถุประสงค์ของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี | |
๑.ผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีสมรรถนะเชิงวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม | |
๒.พัฒนาบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ | |
๓.สร้างสมรรถนะงานวิจัยและผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพ | |
๔.ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนทางด้านสุขอนามัย | |
๕.ธำรงรักษา ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม | |
นโยบายของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันบุรี | |
๑.บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อให้บรรลุพันธกิจของมหาวิทยาลัย | |
๒.บริหารทรัพยากรโดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพ | |
๓.พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับการปฏิรูประบบการศึกษาและการปฏิรูประบบสุขภาพ | |
๔.พัฒนาทักษะชีวิตของนักศึกษาด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ | |
๕.พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง | |
๖.ส่งเสริม สนับสนุนการทำวิจัยและผลงานทางวิชาการของบุคลากร | |
๗. พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่องให้มีคุณภาพ คุณธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข | |
๘.พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้ | |
๙.สนับสนุนและส่งเสริมการให้บริการวิชาการแก่สังคมและสาธารณสุขสาธิต | |
๑๐.ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม | |
ปรัชญาการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี | |
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
จันทบุรี มีหน้าที่หลักในการผลิตพยาบาลวิชาชีพและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุข
และมีความเชื่อว่าการพยาบาลเป็นกระบวนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่ต้องบูรณการศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องบนพื้นฐานของความเอื้ออาทร
คุณธรรม จรรยาบรรณ และกฏหมายวิชาชีพ โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ใช้บริการภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ดังนั้นการจัดการศึกษาพยาบาลต้องมีมาตรฐานและการประกันคุณภาพที่เป็นระบบ
มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย จัดประสบการณ์ที่ฝึกการปฏิบัติในสถานการณ์จริง
พัฒนาทักษะการคิดที่เป็นระบบและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต โดยผู้สอนเป็นกัลยาณมิตร
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่งหวังให้บัณฑิตพยาบาลมีคุณธรรม จริยธรรม
สมรรถนะและทักษะชีวิต สามารถให้บริการพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการ และเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเองได้ทุกระดับภาวะสุขภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการ
และสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
|
|
ปณิธานของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี | |
เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างมีวิจารณญาณ | |
สืบสานความเป็นไทย เอาใจใส่สังคม | |
สร้างสมคุณธรรม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง | |
คติพจน์ของวิทยาลัยพยาบาลพระเกล้า จันทบุรี | |
อปปมาเทนะ สมมปาเทถะ | |
จงบำเพ็ญประโยชน์และประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท | |
ดอกไม้ประจำวิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี | |
ดอกกล้วยไม้เหลืองจันทร์ | |
[ หน้าแรก
] [ พระราชประวัติ] [ คณะกรรมการ
] [ สถาบันต่าง ๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุน ] [
ติดต่อเรา ]