![]() |
![]() |
พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
![]() |
วัยพระเยาว์ของ ท่านหญิงนา | ||
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระนามเดิมคือ หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์ สมเด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๗ ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสวัสดิวัฒนวิศิษฎ์ (พระอนุชาในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง) กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภาพรรณี ทรงมีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ |
|||
๑.หม่อมเจ้าโสภณภราไดย |
สวัสดิวัฒน์
|
||
๒.หม่อมเจ้ารำไพพรรณี |
สวัสดิวัฒน์
|
||
๓.หม่อมเจ้านนทิยาวัด |
สวัสดิวัฒน์
|
||
๔.หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ |
สวัสดิวัฒน์
|
||
๕.หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร |
สวัสดิวัฒน์
|
||
![]() |
เมื่อเจริญพระชันษาได้
๒ ปี พระบิดาได้ทรงนำเข้าถวายตัวอยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนสี่ฤดู ในพระราชวังดุสิต หม่อมเจ้ารำไพพรรณีทรงเป็นพระนัดดาพระองค์หนึ่ง
ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระราชทานความเอ็นดู ความห่วงใยอยู่เสมอ
ทรงเอาใจใส่อบรมอย่างใกล้ชิด เมื่อหม่อมเจ้ารำไพพรรณีมีพระชันษา ๖ ปี ก็ได้เสด็จเข้าทรงศึกษาที่โรงเรียนราชินี
ต่อมาเมื่อตามเสด็จฯสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไปประทับที่วังพญาไท
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ลาออกจากโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนอยู่ไกลที่ประทับเกินไป
และโปรดเกล้าฯ ให้ครูจากโรงเรียนราชินีมาถวายพระอักษรที่พระตำหนัก เมื่อถึงเวลาสอบไล่จึงจะเสด็จไปสอบที่โรงเรียนราชินี
ในระหว่างนี้ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ และในเวลาต่อมาก็ได้ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองจนทรงมีความรู้อย่างกว้างขวาง
|
||
เมื่อหม่อมเจ้ารำไพพรรณีพระชันษา
๑๑ ปี ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้ทรงประกอบพิธีเกศากันต์ตามโบราณพระเพณี พร้อมกับพระอนุชาและพระญาติอื่น
ๆ ในงานพิธีเกศากันต์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบนมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งพระองค์ให้หม่อมเจ้ารำไพพรรณีโดยพระองค์เอง โดยโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเครื่องประดับชุดมรกตกับเพชร
ครั้งแต่งพระองค์เสด็จหม่อมเจ้ารำไพพรรณีพร้อมด้วยพระญาติที่เข้าพิธีเกศากันต์ร่วมกันก็ประทับเสลี่ยงเสด็จจากที่ประทับไปยังพระที่นั่งอมริทรวินิจฉัยมไหสูรย์พิมาน
ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธี เมื่อเสร็จพิธีแล้วได้มีการฉลองสมโภชอย่างสมพระเกียรติ
|
|||
พระชายาในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขทัยธรรมราชา | |||
![]() |
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๖ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชกุมารี
ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชาย ประชาธิปกศักดิเดชน์ ชนเนศรมหาราชาธิราช
จุฬาลงกรณ์นารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐ์ศักดิ์ อุภัยปักษนาวิมลอสมัมภินชาติพิสุทธิ์
มหามกุฎราชพงศษ์บริพัตรบรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากรสถาวรวรัจยคุณ
อดุลยราชกุมาร เมื่อยังทรงพระเยาว์สมเด็จพระบรมราชชนนีทรง เรียกว่า ลูกเอียดน้อย
และทรงสนิทเสน่หารักใคร่ห่วงใยพระราชโอรสเล็กเป็นอย่างยิ่ง
|
||
หลังจากพระราชพิธีโสกันต์แล้ว
สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศัดดิเดชน์ฯ ทรงได้รับบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขทัยธรรมราชา และได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนอีตัน
ประเทศอังกฤษ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วจึงเสด็จเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยที่เมืองวูลฟ์ลิช
ประเทศอังกฤษ ด้านวิชาทหารปืนใหญ่ม้า
|
|||
หลังจากทรงสำเร็จการศึกษา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
ได้เสด็จนิวัตพระนครในเดือนเมษายนพุทธศักราช ๒๔๕๘ ทรงเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษของพลเอก
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และเมื่อทรงว่างจากพระภารกิจก็เสด็จไปยังวังพญาไทเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนี เป็นเมืองนิตย์ จึงได้ทรงรู้จักสนิทสนมคุ้นเคยกับพระประยูรญาติ
รวมทั้งหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์ ซึ่งพระองค์ทรงต้องพระอัธยาศัยมากกว่าองค์อื่น
|
|||
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเชน์
กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา ทรงผนวชเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๐ เมื่อทรงผนวชครบไตรมาสแล้วจึงทรงลาสิขา
และในปีต่อมาได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ทรงมีพระหฤทัยผูกพันในหม่อมเจ้ารำไพพรรณี
ใคร่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะเษกสมรสกับหม่อมรำไพพรรณี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯทรงรับเป็นพระราชธุระขอหม่อมเจ้ารำไพพรรณีต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีอภิเษกสมรสพระราชทาน
ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่
๒๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑
|
|||
วังศุโขทัย บ้านที่แท้จริง ของสองพระองค์ | |||
หลังจากพิธีอภิเษกสมรส
ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จประทับ ณ วังศุโขทัย ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์
กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา ซึ่งแต่เดิมมีเพียงตำหนักไม้สองชั้นขนาดเล็ก หลังคามุงจากที่เสด็จไปประทับคลายพระอิริยาบถเป็นครั้งคราว
ต่อมาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นพระบรมราชชนนีโปรดเกล้าฯ ได้สร้างตำหนักขึ้นใหม่พระราชทานเป็นเรือนหอ
หม่อมเจ้ารำไพพรรณีได้ทรงรับพระราชภาระดูแลกิจการภายในพระตำหนัก และทรงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในวิชาภาษาอังกฤษ
เวลาที่ทรงว่างก็โปรดจัดดอกไม้ กรองมาลัย และทรงกีฬา เช่น แบดมินตัน เทนนิสนอกจากนี้ทั้งสองพระองค์ยังโปรดที่จะอ่านหนังสือต่างๆ
ด้วย
|
|||
![]() |
|||
ในเดือนมกราคม
พุทธศักราช ๒๔๖๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา
ได้เสด็จไปรักษาพระองค์ ณ ประเทศฝรั่งเศส หม่อมเจ้ารำไพพรรณีพระชายาได้โดยเสด็จไปถวายการดูแลรักษาพยาบาลด้วย
เมื่อทรงหายจากพระอาการประชวรแล้วได้เสด็จไปทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ ณ กรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ และเสด็จประพาสประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาจึงเสด็จเข้าทรงศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงเพิ่มเติม
ณ โรงเรียนฝ่ายเสนาธิการในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทรงฝึกงานภาคสนามตามมณฑลต่างๆ
ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมเจ้ารำไพพรรณีพระชายาได้โดยเสด็จไปประทับแรม ณ ที่ประทับแรมในชนบท
และเสด็จทัศนศึกษาภูมิประเทศในบริเวณใกล้เคียงพร้อมทั้งทรงฝึกฝนภาษาฝรั่งเศสให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น
|
|||
เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าประชาธิปก ศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา ทรงสำเร็จการศึกษาและทรงรับประกาศนียบัตรนายทหารฝ่ายเสนาธิการแล้วทั้งสองพระองค์ก็ได้เสด็จนิวัติพระนคร
ในพุทธศักราช ๒๔๖๗ โดยเสด็จผ่านประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น เพื่อจะได้ทรงมีโอกาสศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศนั้น
ๆ
|
|||
หลังจากที่พระองค์เสด็จนิวัติพระนครได้
๑ ปีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ (ในจารึกพระสุพรรณบัฎประกาศเฉลิมพระนามทรงกรมเป็น
กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา ในพุทธศักราช ในพุทธศักราช ๒๔๔๘ นั้น คำว่าศุโขทัยธรรมราชา
ใช้ ศ ต่อมาเมื่อทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนกรมขึ้นเป็นกรมหลวง ในพุทธศักราช
๒๔๖๘ ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ คำว่า สุโขทัยธรรมราชา ใช้ ส
|
|||
ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี
ได้ทรงประจักษ์แจ้งความซื่อตรงจงรักของหม่อมเจ้ารำไพพรรณีอันมีต่อพระองค์
ได้ตั้งพระหฤทัยทนองพระเดชพระคุณทั้งปฏิบัติวัฎฐานในเวลาเมื่อทรงสุขสำราญ
และรักษาพยาบาลในเวลาเมื่อทรงพระประชวร แม้เสด็จไปประทับอยู่ที่ทุระสถานต่างประเทศ
ก็อุสาหโดยเสด็จติดตามไปมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบาก ควรนับว่าได้เคยเป็นคู่ร่วมทุกข์สุขกับพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นนิรันดร
จะหาผู้อื่นเสมอเหมือนมิได้ เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ก็สมควรที่จะทรงสถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณีขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี เพราะความชอบความดีซึ่งได้มีต่อพระองค์มาแต่ต้นหนหลังด้วยอีกสถาน
๑
|
|||
สมเด็จพระบรมราชินีนาถในสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||
![]() |
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
เป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
หลังจากพระบาทพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ทรงรับพระบรมราชาภิเษก
เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๙ และในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณีพระวรราชชายา ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี
และสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระอัครมเหสีโดยสมบูรณ์ตามพระราชกำหนดกฎหมายและพระราชประเพณี
|
||
![]() |
|||
สวนไกลกังวล พระราชฐานที่ทรงเปี่ยมสุข | |||
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดธรรมชาติแถบชายทะเลหัวหินเป็นอย่างดี
เพราะนอกจากจะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม เงียบสงบ ต้องกับพระราชอัธยาศัยแล้ว ชายทะเลหัวหินยังเป็นสถานที่ที่ทำให้พระองค์เกิดความสนิทสนมคุ้นเคย
และมีพระราชหฤทัยผูกพันในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักชายทะเลหัวหิน
และโปรดเกล้าฯให้ทั้งสองพระองค์โดยเสด็จพระราชดำเนินด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินชายทะเลอำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อดำเนินการก่อสร้างพระตำหนัก พระราชทานนามว่า
พระตำหนักเปี่ยมสุข ภายในบริเวณที่ทรงเรียกว่า สวนไกลกังวล โดยโปรดเกล้าฯ
ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร ทรงเป็น
สถาปนิก |
|||
![]() |
เนื่องจากสวนไกลกังวล
และพระตำหนักเปี่ยมสุขนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้จัดสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของสมเด็จรำไพพรรณีฯ
ดังนั้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร ออกแบบเข็มและจี้ทองคำลงยา
เพื่อพระราชทานแก่ผู้ร่วมการแสงรีวิว ในวันฉลองการขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข
ซึ่งหม่อมเจ้าอิทธิสรร กฤดากร ได้ออกแบบเป็นลายลำแสงพระอาทิตย์ส่องผ่านเมฆ
อันเป็นความหมายของพระนามาภิไธย รำไพพรรณี และเป็นลายลักษณ์เดียวกับเหล็กหล่อทวารพระตำหนักเปี่ยมสุขด้วย
|
||
พระตำหนักเปี่ยมสุข
สวนไกลกังวล ทั้งสองพระองค์ทรงใช้เป็นพระราชฐานต่างจังหวัดในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปสำราญพระราชอิสราบถระหว่างช่วงฤดูร้อน
แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงละทิ้งราชการ ทรงสดับฟังข่าวสารบ้านเมืองทางวิทยุกระจายเสียงอยู่เสมอ
และทรงงานเป็นประจำทุกวัน เมื่อทรงว่างงานจากพระราชภารกิจทั้งสองพระองค์จึงเสด็จกีฬากอล์ฟ
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดที่จะทรงฉายพระรูปสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
เพื่อทรงนำไปติดในสมุดภาพส่วนพระองค์
|
|||
ตามเสด็จพระราชดำเนินทุกแห่งหน | |||
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรตามจังหวัดต่าง
ๆ เป็นเนืองนิตย์ โดยหัวเมืองฝ่ายเหนือเสด็จถึงอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
หัวเมืองฝ่ายใต้เสด็จถึงจังหวัดนราธิวาสส่วนจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดจันทบุรีและตราด
ทั้งนี้เพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ ความทุกข์สุขของราษฎร ตลอดจนทรงศึกษาแหล่งโบราณสถาน
โบราณวัตถุในท้องถิ่น ซึ่งทุกแห่งหนสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ก็ได้ตามเสด็จพระราชสวามีมิได้ขาด
|
|||
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงตระหนักถึงพระราชภารกิจสำคัญยิ่งประการหนึ่งในฐานะพระมหากษัตริย์ คือการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ จึงเสด็จต่างประเทศอย่างเป็นทางการ
เริ่มจากประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลีระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ถึงวันที่
๑๑ ตุลาคม ๒๕๗๒
|
|||
หลังจากนั้น
ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน เยือนประเทศเวียดนาม และประเทศกัมพูชา
ระหว่างวันที่ ๖ เมษายน ถึงวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ ในการเสด็จประพาสเมืองไซ่ง่อน
ประเทศเวียดนาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินช่วยเหลือการสาธารณกุศลสำหรับอินโดจีน
จำนวน ๒,๐๐๐ ปีอาสต์ต่อจากนั้นได้เสด็จจากเมืองไซง่อนไปยังประเทศกัมพูชาเพื่อทอดพระเนตรนครวัด
นครธม โดยมีศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เฝ้ารับเสด็จ และนำเสด็จทอดพระเนตรสถานที่ต่าง
ๆ
|
|||
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีอาการประชวรพระเนตรกำเริบขึ้น นายแพทย์ประจำพระองค์ที่ถวายการรักษาอยู่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณา
ถวายคำแนะนำ ควรจะให้นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ถวายการตรวจรักษา
พระองค์จึงพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ ได้เสด็จผ่านทางประเทศญี่ปุ่นและประเทศแคนาดา
|
|||
![]() |
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินถึงประเทศสหรัฐอเมริกา พระองค์ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนอเมริกัน
แสดงถึงพระราชปณิธานอย่างชัดเจนว่าทรงพระราชดำริที่จะให้ประชาชนชาวไทย ได้มีส่วนร่วมในการปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตยและในวันที่
๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๔ มหาวิทยาลัยฮอร์จ วอชิงตัน ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู้หัว
เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถทางรัฐประศาสนโยบาย ณ อาคารแพน อเมริกัน
ยูเนียน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
|
||
หลังจากที่ทรงรับการผ่าตัดต้อกระจกในพระเนตรซ้ายและประทับพักฟื้นจนพระอาการกระเตื้องขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยการเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนสถานที่ต่าง
ๆตามรายการที่รัฐบาลอเมริกันจัดถวาย และได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟพิเศษออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ เพื่อเยือนประเทศแคนนาดา เป็นการส่วนพระองค์หลังจากนั้น
จึงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเสด็จนิวัตพระนคร
|
|||
พระราชหฤทัยที่กล้าหาญของสมเด็จพระบรมราชินี | |||
หลังจากเสร็จงานพระราชพิธีฉลองพระนครครบ
๑๕๐ ปี ไม่มากนักสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯก็ได้ตามเสด็จพระราชสวามีไปประทับที่พระตำหนักเปี่ยมสุข
สวนไกลกังวล หัวหิน เมื่อทรงพักผ่อนพระราชอิริยาบถ หลังจากทรงตรากตรำปฎิบติพระราชกรณียกิจมาอย่างต่อเนื่อง
แต่แล้ววันเวลาแห่งความเบิกบานพระราชหฤทัยซึ่งมีอยู่เพียงสั้น ๆ ก็จบสิ้นลง
จากเหตุการณ์ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ด้วยมีคณะบุคคล ซึ่งประกอบด้วย
ทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร มีพันเอก
พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และเข้าจับกุมพระบรมวงศ์บางพระองค์
รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่คุมกำลังทหาร แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา
เชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนคร
เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองที่คณะราษฎรได้สร้างขึ้น เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่มีผู้ใดทราบว่าเหตุการณ์จะรุนแรงเพียงใด
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งถามความเห็นในเรื่องนี้
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงตัดสินพระราชหฤทัยอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ
ทรงเลือกการกลับเข้าพระนคร ให้ความร่วมมือกับคณะราษฎรเพื่อแก้ไขสถานการณ์ของบ้านเมืองให้กลับเข้าสู่ความสงบ
ระงับเหตุที่อาจนำไปสู่การรบกันจนนองเลือด คำตอบของพระองค์ในครั้งนี้มีส่วนทำให้พระราชสวามีทรงตัดสินพระราชหฤทัยได้อย่างเด็ดขาด
และที่สำคัญคือ มีผลต่อประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยที่ทำได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่น้อย
|
|||
![]() |
วันที่
๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๗๕ ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร
สยาม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงมีพระราชปรารภว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นที่สถาพร
มีประสิทธิภาพ เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขของประชาชน และทำให้ประเทศชาติบรรลุถึงความเจริญวัฒนา
แต่ชั่วระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปีความยุ่งยากทางการเมืองก็เริ่มขึ้น นับตั้งแต่ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎร
จนนำไปสู่การยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๖
หัวหน้าผู้ก่อการ คือ พันเอก พระยาพหลพลยุหเสนา ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ใน ๔ เดือน ก็มีนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งนำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชซึ่งไม่เห็นด้วยกับอุดมการณ์และการดำเนินงานของคณะราษฎร
ได้นำทหารจากภาคกลางและภาคอีสาน เข้ายึดดอนเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองอากาศยาน
ออกแถลงการณ์ในนามของ คณะกู้บ้านเมือง เรียกร้องให้คณะรัฐบาลลาออกเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่
มีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุข ปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
รัฐบาลแต่งตั้งให้พันโท หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้อำนวยการปราบกบฎ ได้มีการต่อสู่กัน
ในที่สุดทางฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายกบฏได้สำเร็จ
|
||
ขณะที่เกิดเหตุการณ์กบฎบวรเดช
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงอยู่ในระหว่างแปรพระราชฐานประทับ
ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อทรงทราบข่าว
พระองค์ก็ไม่ทรงสบายพระราชหฤทัย เพราะไม่ต้องพระราชประสงค์ที่จะให้ผู้ใดอ้างว่าทำอะไรเพื่อพระราชบัลลังก์
พระองค์จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักเปี่ยมสุขมุ่งไปทางใต้ซึ่งห่างไกลจากเหตุการณ์เพื่อแสดงถึงการวางพระองค์เป็นกลาง
พระองค์ประทับที่พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
จนเหตุการณ์สงบลง จึงเสด็จฯ กลับมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
|
|||
ธ เสด็จนิราศสู่แดนไกล | |||
![]() |
เดือนมกราคม
พุทธศักราช ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ไปยังประเทศอังกฤษเพื่อทรงรับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร หลังจากนั้นได้เสด็จไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีนานาประเทศในทวีปยุโรป
คือ ประเทศฝรั่งเศส อิตาลี เดนมาร์ก เยอรมัน เบลเยี่ยม เชโกสโลวะเกีย และสวิตเซอร์แลนด์
ตามลำดับ แล้วจึงเสด็จฯ กลับมาประทับในประเทศอังกฤษ
|
||
ในระหว่างที่ประทับ
ณ ประเทศอังกฤษ การเจรจาความเมืองกับรัฐบาลที่พระนคร ก็ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง
แต่ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่ารัฐบาลมิได้ฏิบัติตามพระราชปณิธานของพระองค์ที่ทรงสละพระราชอำนาจให้แก่ราษฎร
มิใช่ให้แก่คณะใดคณะหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น เมื่อไม่อาจทรงขอร้องหรือทักท้วงให้รัฐบาลแก้ไขนโยบายให้เป็นไปตามกระแสพระราชดำริได้แล้ว
จึงทรงตัดสินพระราชทานหฤทัยสละราชสมบัติ สำหรับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
นั้นก็มิได้ทรงอาลัยในสิริราชสมบัติจนทำให้พระราชสวามีต้องทรงกังวลหรือลังเลพระราชหฤทัยเลย
เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินพระราชหฤทัยในเรื่องที่สำคัญยิ่ง ดังที่ได้เคยมีพระราชดำรัสกับหม่อมเจ้าการวิก
จักรพันธุ์ รองราชเลขานุการในพระองค์ ฯ ว่า พระองค์ทรง เห็นพ้องต้องกันกับพระสวามีในการตัดสินพระราชหฤทัยสละราชย์
|
|||
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชนราษฎร
|
|||
บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่า
ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฏรออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ
และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ หรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว
ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เป็นต้นไป
|
|||
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติแล้ว
พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้ประทับอยู่ในชนบทใกล้กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ
ทรงวางพระองค์เยี่ยงคหบดีชนบท และทรงใช้เวลาในการจัดสวน เลี้ยงนก เลี้ยงปลา
เป็นต้น เมื่อว่างจากพระราชภารกิจก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทัศนศึกษาตามโบราณสถานต่าง
ๆ ส่วนในช่วงฤดูหนาวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับในประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป
|
|||
![]() |
|||
พระราชสวามีเสด็จสู่สวรรคาลัย | |||
ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศอังกฤษนั้น
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงมีพระราชภารกิจที่สำคัญยิ่ง คือการถวายการพยาบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งมีราชพลานามัยไม่แข็งแรง และประชวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ พระองค์จึงต้องเสด็จฯติดตามพระราชสวามีอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ยังต้องดูแลพระตำหนักที่ประทับด้วยพระองค์เอง เพาะรัฐบาลไทยได้เรียกผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท
กลับประเทศไทยหมด เหลือเพียงข้าราชบริพารไม่กี่คน
|
|||
![]() |
ครั้นถึงวันที่
๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ ขณะประทับ ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน ประเทศอังกฤษ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันพระหทัยวาย ขณะนั้นทรงมีพระราชชนมพรรษา
๔๘ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฯ ทรงจัดการเรื่อพระบรมศพและถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการภายใน
ในวันที่ ๓ มิถุนายน ศกนั้น นับเป็นงานพระบรมศพที่เรียบง่ายปราศจากพระเมรุมาศ
ไม่มีเสียงประโคมย่ำยาม ไม่มีแม้แต่พระสงฆ์สวดเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ซึ่งต้องทรงต่อสู่กับความโศกเศร้าโทมนัสด้วยพระขันติธรรมที่สูงยิ่ง
|
||
เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยพร้อมทั้งพระบรมอัฐิ | |||
![]() |
หลังจากเสด็จพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ยังคงประทับอยู่ในประเทศอังกฤษต่อไป
เพราะการคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศยังไม่ปลอดภัย เนื่องจากอยู่ในภาวะสงคราม
และเมื่อประเทศไทยจำต้องยอมประกาศสงครามเข้าข้างญี่ปุ่น เป็นศัตรูโดยเปิดเผยกับอังกฤษและอเมริกาคนไทยซึ่งพำนักอยู่ในต่างประเทศจำนวนหนึ่งได้ประกาศตัวเป็นเสรีไทย
ทำงานประสานกับเสรีไทยในพระนครสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้พระราชทานพระกรุณาอุดหนุนจุนเจือกิจการของเสรีไทยในประเทศอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ
|
||
ต่อมาในพุทธศักราช
๒๔๙๒ รัฐบาลได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ขอพระราชทานให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสู่พระนคร
พร้อมกันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายครบถ้วนตามพระราชประเพณี
ก่อนอัญเชิญขึ้นสู่ประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ในพระบรมมหาราชวัง
|
|||
วังสระปทุม ที่ประทับหลังเสด็จนิวัติประเทศไทย | |||
![]() |
เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากประเทศอังกฤษกลับมาสู่ประเทศไทย
ในพุทธศักราช ๒๔๙๒ นั้น รัฐบาลได้ใช้พระตำหนักวังศุโขทัยเป็นสถานที่ทำงานของกระทรวงสาธารณสุข
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้เชิญเสด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ไปประทับ
ณ พระตำหนักของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในวังสระปทุม
ระหว่างนั้นเป็นเวลาที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมด็จพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลปัจจุบันยังทรงพระเยาว์อยู่
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จึงทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ผ่อนคลายพระราชภารกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเป็นอันมาก
และเนื่องจากทรงมีพระราชหฤทัยที่อ่อนโยน ไม่ต้องพระราชประสงค์ที่จะทรงรบกวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในการประทับ
ณ ตำหนักวังสระปทุมนานเกินควร อีกทั้งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะประทับในต่างจังหวัดด้วยโปรดธรรมชาติและการทำสวน
จึงมีพระราชดำริที่จะหาที่ดินเพื่อสร้างพระตำหนักที่ประทับสำหรับพักผ่อน
พระราชอิริยาบถและทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดนั้น
|
||
สวนบ้านแก้ว บ้านที่ทรงใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชน | |||
ในการหาที่ดินในต่างจังหวัดนั้น
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ มีพระราชดำริไว้ ๒ แห่งคือ ที่จังหวัดเชียงใหม่
และจังหวัดจันทบุรี แต่ในที่สุดแล้วทรงสนพระราชฤทัยจังหวัดจันทบุรี เพราะระยะเวลาใกล้กว่าและสามารถเสด็จพระราชดำเนินเข้ากรุงเทพฯ
ได้ภายในวันเดียว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พันตรี หม่อมทวีวงค์ถวัลยศักดิ์เลขาธิการสำนักพระราชวัง
และหาที่ดินในจังหวัดจันทบุรี และได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดิน
ซึ่งในระยะนั้นเส้นทางคมนาคมยังไม่สะดวก ต้องเสด็จฯ ไปตามถนนที่ยังไม่ได้ราดยางเป็นหลุมบ่อ
เต็มไปด้วยฝุ่นละออง รถพระที่นั่งกระแทกกระเทือนไปตลอดทางในที่สุดทรงพบที่ที่ต้องพระราชหฤทัยตรงทางแยกเข้าตัวเมืองจันทบุรี
ด้วยทรงเห็นว่าเป็นสถานที่ซึ่งมีธรรมชาติ งดงาม เงียบสงบ ต้องกับพระราชอัธยาศัยของพระองค์
จึงทรงกู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อที่ดินสองฝั่งคลอง บ้านแก้วรวมเนื้อที่ ๖๘๗
ไร่ พระราชทานสนามสถานที่แห่งนี้ตามชื่อคลองว่า สวนบ้านแก้ว
|
|||
![]() |
ในระยะแรกนั้น
สวนบ้านแก้วยังมีสภาพเป็นป่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการปรับที่ดิน พร้อมกับสร้างที่ประทับชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่
หลังคามุงจาก และได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๐
มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ ต่อมาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเรือนไม้หลังเล็กขึ้น ๒ หลัง คือเรือนเทา ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ส่วนเรือนแดงเป็นที่พักของข้างหลวงผู้ติดตาม และมีเรือนอีกหนึ่งหลังสร้างแบบบังกะโลเรียกว่าเรือนเขียวเป็นที่พักของราชเลขานุการ
เรือนทั้งสามหลังนี้นับเป็นอาคารชุดแรกของสวนบ้านแก้ว
|
||
พระตำหนักใหญ่ (ตำหนักเทา) | |||
![]() |
สองปีต่อมา
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักใหญ่ (พระตำหนักเทา)
บนเนินที่ลาดลงไปยังหุบเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีทัศนียภาพสวยงาม เพื่อเป็นที่ประทับและรับรองแขก
พระตำหนักเป็นอาคารแบบชั้นครึ่ง รูปทรงยุโรปทาสีเทาชั้นบนเป็นห้องบรรทมซึ่งมีที่เฉลียงที่พระองค์สามารถทอดพระเนตรทิวทัศน์งดงามของสวนบ้านแก้วได้กว้างไกล
|
||
เมื่อวันที่
๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
และสมเด็จพระนางเจ้าสินริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่สวนบ้านแก้ว
การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูกต้นจำปาไว้ด้านข้างพระตำหนักใหญ่
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นเงาะไว้บริเวณเดียวกัน
|
|||
พระตำหนักดอนแค (ตำหนักแดง) | |||
นามพระตำหนักดอนแดง
มีที่มาจากบริเวณถนนหน้าพระตำหนักปลูกต้นแค่ฝรั่งเรียงรายงดงาม จึงเรียกขานกันว่า
ดอนแค เป็นพระตำหนักที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับสำหรับเจ้าขุนมูลนายชั้นผู้ใหญ่และราชเลขานุการส่วนพระองค์
เป็นอาคารสองชั้นแบบยุโรปสร้างด้วยไม้สักทาสีแดง มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านหลังตำหนัก
เดิมเคยเป็นที่พักของหม่อมราชวงศ์สมัครสมาน กฤดากร ราชเลขานุการต่อมาเมื่อราชเลขานุการถึงแก่กรรม
หม่อมเจ้าผ่องผัสมณี จักรพันธุ์ พระขณิฐาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงดำรงตำแหน่งราชเลขานุการ
และประทับที่พระตำหนักดอนแค สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จฯมาประทับกับหม่อมเจ้าผ่องผัสมณี
จนกระทั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ วังศุโขทัยเป็นการถาวร
|
|||
![]() |
นอกจากนี้
ด้านทิศตะวันตกของตำหนักดอนแคยังเป็นที่ตั้งของตำหนักน้อย ซึ่งมีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รับรองพระราชวงศ์ที่เสด็จมาเยี่ยมเยือน และทรงใช้เป็นที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถในบางโอกาส
|
||
การก่อสร้างพระตำหนักและสิ่งก่อสร้างต่าง
ๆ นั้นสมเด็จพระนางเจ้ารำไรพรรณีฯ โปรดให้เป็นไปด้วยความประหยัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
นับตั้งแต่โปรดเกล้าฯ ให้จ้างช่างชาวจีนมาสอนคนงานที่สวนบ้านแก้ว ทำอิฐ เผาอิฐ
เผากระเบื้องมุงหลังคาเอง เนื่องจากอิฐบางบัวทองขณะนั้นราคาก้อนละ ๒ บาท
การขนส่งจากกรุงเทพฯ ก็ลำบาก อิฐที่เผาในสวนบ้านแก้วจะมีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรว่า
ส บ ก ซึ่งโปรดเกล้าให้นำอิฐ ส บ ก ไปใช้ในการก่อสร้างพระตำหนักและสิ่งก่อสร้างต่าง
ๆ
|
|||
สมเด็จฯ ผู้ทรงบุกเบิกงานเกษตร | |||
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
มีพระราชอัธยาศัยโปรดธรรมชาติอย่างยิ่ง ระหว่างประทับ ณ สวนบ้านแก้ว ได้โปรดเกล้าฯ
ให้หม่อมเจ้าประดิษฐา จักรพันธุ์ ทรงเป็นผู้จัดการ สวนบ้านแก้ว และพระราชทานพระราชดำริให้ปลูกพืชไร่
พืชสวนครัว และผลไม้นานาชนิดรวมทั้งสัตว์เลี้ยงพันธุ์พืชต่าง ๆ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้สวนบ้านแก้วเป็นไร่ตัวอย่างมากกว่าทำเป็นการค้า
โดยทำการทดลองว่า หากปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดใดได้ผลดี ก็ทรงนำความรู้นั้นออกเผยแพร่ราษฎรต่อไป
|
|||
![]() |
|||
ในระยะแรกพื้นที่สวนบ้านแก้วส่วนหนึ่งยังเป็นป่าทึบ
มีที่บุกเบิกเป็นไร่บ้าง ส่วนใหญ่ยังมีสภาพรกร้าง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
ฯ ทรงบุกเบิกที่เพื่อปลูกพืชไร่ เช่นถั่วลิสง นุ่น โดยมีพระราชประสงค์ให้ปลูกเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร
แต่เนื่องจากพืชทั้งสองชนิดไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศของจังหวัดจันบุรี จึงทรงเปลี่ยนไปปลูกมะพร้าวแทน
นอกจากนี้ ได้ทรงปลูกมันสำปะหลังเพื่อกันไม่ให้หญ้าขึ้นรก และเพื่อช่วยยึดดิน
ซึ่งได้ผลผลิตดีมาก
|
|||
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการทำไร่ทำสวนบ้านแก้วด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ อาทิ
ทรงปลูกและเก็บเมล็ดถั่วลิสงร่วมกับข้าราชการบริพารและคนงาน ตลอดจนทรงดูแลเลี้ยงสัตว์ต่าง
ๆ บางครั้งถึงกับทรงขับรถแทรคเตอร์และตัดหญ้าด้วยพระองค์เอง
|
|||
ในช่วงที่ปลูกพืชไร่นั้น
หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดาดร ซึ่งทรงเชี่ยวชาญด้านการเกษตรได้ถวายคำแนะนำสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ให้ทรงทดลองปลูกแตงโม แตงไทย และแคนตาลูป ประมาณ ๘ ไร่ ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจโดยเฉพาะแตงโมมีผลโตและน้ำหนักเบามาก
การปลูกแตงโมนั้นทรงปลูกเพื่อเสวยเองและแจกจ่ายแก่บุคคลต่างๆ มิได้นำออกขาย
|
|||
ออกจากพืชไร่
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกผักสวนครัวและผลไม้ต่างๆ
เช่น ส้มเขียวหวาน ประมาณ ๓,๐๐๐ ต้น เงาะ ลางสาด มังคุด เป็นต้นส่วนพริกไทยนั้นทรงปลูกในระยะแรกแล้วทรงเลิก
เนื่องจากมิให้เป็นการกระทบต่ออาชีพของราษฎร
|
|||
สำหรับการเลี้ยงสัตว์
โปรดเกล้าฯ ให้สั่งไก่พันธุ์ไข่จากต่างประเทศหลายพันธุ์ จำนวนประมาณ
๒,๐๐๐ ตัว เพื่อทดสอบเลี้ยง โดยฝักไข่ไก่ด้วยเครื่อง นอกจากนี้ยังทรงเลี้ยงเป็ดพันธุ์ปักกิ่ง ห่าน และวัวพันธุ์เนื้อประมาณ ๑๐๐ ตัว โดยเลี้ยงตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อช่วยในการปราบหญ้า |
|||
ดอกไม้ ความสุขส่วนหนึ่งของพระองค์ | |||
![]() |
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
โปรดดอกไม้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจแล้ว ก็โปรดที่จะประทับในเรือนเพาะชำ
ทรงปลูกต้นไม้รดน้ำ ใส่ปุ๋ยด้วยพระองค์เอง บริเวณพระตำหนักใหญ่และพระตำหนักดอนแคจึงงดงามด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด
ทั้งไม้ยืนต้น เช่น มะฮอกกานี ราชพฤกษ์ (คูณ) ศรีตรัง เสลา อินทนิล หางนกยูงฝรั่ง
และเหลืองอินเดีย ซึ่งให้ทั้งความร่มรื่นและความงามยามที่ดอกบานสะพรั่ง สวนไม้พุ่มที่ช่วยเติมแต่งสีสันและให้กลิ่นหอม
ล้วนมีหลากหลาย เช่น ลั่นทม แก้วแคฝรั่งโศกสปัน ดอนย่า เป็นต้น นอกจากนี้
ยังมีไม้เถาเลื้อย เช่น พุทธชาด พวงแสด พวงทอง พวงชมพู พงแก้มแดง พวงคราม
พวงโกเมน และพวงหยก ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่หายากและมีดอกที่สวยงามแปลกตา ส่วนตามถนนบริเวณพระตำหนักทรงปลูกกว่าสี่ทิศ
บังสวรรค์ ซึ่งเป็นไม้ดอกประเภทหัว (Bulbs) ที่เมื่อถึงฤดูกาลก็จะมีดอกที่สร้างสีสันสดใสโดยรอบบริเวณพระตำหนักทั้งสอง
|
||
บริเวณที่เป็นสวนดอกไม้ส่วนพระองค์
อยู่ด้านตะวันออกของพระตำหนักใหญ่ เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวมีสระเลี้ยงเต่า
เลี้ยงปลาและสระน้ำที่สร้างเป็นระดับลดหลั่นมาเพื่อให้น้ำไหลรินลงสู่เบื้องล่าง
สวนดอกไม้แห่งนี้ป็นสถานที่ทรงสำราญพระราชหฤทัยของพระองค์ตลอดเวลาที่ประทับ
ณ สวนบ้านแก้ว
|
|||
สวนส่วนพระองค์ ที่ประทับทรงพระสำราญ | |||
![]() |
ด้วยเหตุผลที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
โปรดการปลูกต้นไม้ ทำสวน จึงโปรดให้จัดสวนส่วนพระองค์บริเวณพื้นที่ระหว่างพระตำหนักใหญ่
และพระตำหนักดอนแคเป็นที่ประทับทรงพระสำราญส่วนพระองค์ โดยก่อกำแพงด้วยอิฐโปร่งรอบบริเวณ
ภายในบริเวณสวนร่มรื่นและงดงามด้วยพันธุ์ไม้ที่ทรงโปรดปราน เช่น ลิ้นจี่
มังคุด มะปริง มะปราง มีเล้าไก่สำหรับเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ มีกรงนกขนาดใหญ่ที่สร้างคลุมต้นไม้สำหรับเลี้ยงนกนานาชนิด
ด้านหลังสวนส่วนพระองค์ โปรดให้สงวนต้นใหญ่ไว้ให้สภาพเป็นป่าธรรมชาติ
|
||
พระเมตตาต่อสัตว์เลี้ยง | |||
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
โปรดสุนัขมาก ทรงเลี้ยงไว้ ๑๒ ตัว ที่ทรงเลี้ยงไว้อย่างใกล้ชิดและติดตามพระองค์ไปทุกหนทุกแห่งในสวนบ้านแก้ว
ด้วยพระราชหฤทัยที่อ่อนโยน ได้โปรดให้สร้างสระน้ำสำหรับให้สุนัขลงเล่นน้ำไว้ด้านซ้ายมือของศาลาทรงไทย
ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอนแค ส่วนภาย
ในพระตำหนักใหญ่ทรงจัดห้องเลี้ยงปลา เลี้ยงเต่า ไว้ในตู้เล็ก ๆ |
|||
![]() |
|||
นอกจากนี้
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ยังทรงเลี้ยงหมี แต่ดุมากจึงนำไปไว้ที่สวนสัตว์
และทรงมีพระเมตตารับลูกสัตว์ที่แม่ตายมาเลี้ยงไว้ เช่น ลูกวัว ลูกเก้ง เป็นต้น
|
|||
เสื่อสมเด็จ งานหัถกรรมที่ทรงพัฒนา | |||
ระหว่างที่ประทับ
ณ สวนบ้านแก้ว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้ทรงเริ่มพัฒนาการทอเสื่อจันทบูร
ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวจังหวัดจันทบุรี ให้มีคุณภาพสีสันและรูปแบบที่งดงามขึ้น
เนื่องจากทรงพบข้อบกพร่องของเสื่อจันทบูรหลายประการ เช่น สีของเสื่อมักจะตกและมีเพียงไม่กี่สี
ซึ่งส่วนมากเป็นสีเข้ม เช่น เขียว เหลือ แดง เป็นต้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งโรงงานทอเสื่อขึ้นในสวนบ้านแก้ว โดยสั่งซื้อกกตากแห้ง จากชาวบ้านมาเป็นวัตถุดิบในการทอเสื่อและมีพระราชดำริให้ปรับปรุงคุณภาพสีที่ใช้ย้อมกก
โดยมีหม่อมเจ้ากอกษัตริย์ สวัสดิวัฒน์พระอนุชาซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาเคมีมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ช่วยค้นคว้าวิธีย้อมกกไม่ให้สีตก
และคิดกรรมวิธีฟอกกกให้ขาวก่อนนำไปย้อมสี ซึ่งทำให้สามารถย้อมกกเป็นสีอื่น
ๆ ได้
เช่นสีชมพู เหลืองอ่อน ขาว เป็นต้น นอกจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ยังทรงออกแบบกระเป่าเสื่อให้มีรูปทรงที่ทันสมัย ลวดลายสวยงามทั้งยังส่งเสริมให้นำเสื่อกกมาผลิตเป็นของใช้ประเภทอื่น เช่น กระเป๋าเอกสาร ถาด ที่รองแก้ว ที่รองจาน กล่องใส่กระดาษเช็ดมือ ฯลฯ โดยทรงออกแบบตรวจตราคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยพระองค์เอง และโปรดเกล้าฯให้ติดเครื่องหมายการค้าเป็นรูปคนหาบกระจาด มีอักษรย่อ ส.บ.ก (สวนบ้านแก้ว) ใช้ชื่อว่า อุสาหกรรมชาวบ้านซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะให้โรงงานทอเสื่อของพระองค์เป็นสถานที่เผยแพร่ความรู้ด้านการประกอบอาชีพให้แก่ราษฎร |
|||
![]() |
|||
ตึกประชาธิปก จากน้ำพระทัยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ | |||
ครั้งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรที่ดินที่จังหวัดจันทบุรีนั้น
ทรงช่วยข้าราชบริพารเตรียมพระกระยาหารและทรงทำมีดบาดพระดัชนีเป็นรอยแผล จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรี ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๕๓ ทรงประสบกับภาวะขาดแคลนและยากไร้ของโรงพยาบาลซึ่งมีเพียงอาคารเล็ก ๆ เพียงหลังเดียวที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการแสดงละครในพระราชินูปถัมภ์เพื่อจัดหาทุนก่อสร้างตึกผ่าตัดให้แก่โรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรี เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๔๙๗ ได้พระราชทานนามตึกหลังนี้ว่า ตึกประชาธิปก และพระราชทานตราศักดิเดชน์ ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ อันเป็นพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นตราประจำตึก และทรงสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าตึกด้วย |
|||
![]() |
|||
ด้วยพระราชจริยวัตรของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
รัฐบาลสมัยนั้นจึงสนองพระราชดำริโดยการปรับปรุงโรงพยาบาลให้มีขนาดใหญ่และทันสมัยยิ่งขึ้น
คือขยายจากโรงพยาบาลขนาด ๕๐ เตียง เป็น ๑๕๐ เตียง พร้อมด้วยอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย
และได้สร้างวิทยาลัยพยาบาลเพื่อเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยของภาคตะวันออกทั้งให้มีการเปลี่ยนนามโรงพยาบาลเป็น
โรงพยาบาลพระปกเกล้า เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯได้ทรงรับโรงพยาบาลพระปกเกล้า และวิทยาลัยไว้ในพระราชินูปถัมภ์
และได้รับระราชทานทุนในการดำเนินงานของโรงพยาบาลชื่อ ทุนประชาธิปก ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็น
มูลนิธิประชาธิปก ในพุทธศักราช ๒๕๑๘ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงโรงพยาบาลพระปกเกล้า
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า และวิทยาลัยครูจันทบุรี ในการก่อสร้างจัดซื้อวัสดุเครื่องมือเครื่องใช้
ตลอดจนเป็นทุนการศึกษาของนักเรียนพยาบาลและนักศึกษาวิทยาลัยครูจันทบุรีที่เรียนดี
ความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เงื่อนไขสำคัญของการรับทุนคือผู้รับทุนต้องกลับมาทำงานพัฒนาท้องถิ่นของตนต่อไป
|
|||
พระมิ่งขวัญสถาบันราชภัฎรำไพพรรณี | |||
พุทธศักราช
๒๕๑๑ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ วังศุโขทัยเป็นการถาวร
เนื่องจากทรงมีพระประยูรญาติและข้าราชบริพารส่วนใหญ่เป็นสตรี ยากที่จะตามเสด็จพระราชดำเนินไปต่างจังหวัด
ประกอบกับพระองค์ทรงมีพระชนมายุสูงขึ้นและพลานามัยไม่สมบูรณ์นัก ดังนั้นเมื่อรัฐบาลกราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชทานสวนบ้านแก้ว
เพื่อก่อตั้งเป็นวิทยาลัยครูจันทบุรี โดยทูลเกล้า ฯ ถวายเงินเพียง ๑๘ ล้านบาท
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ด้วยความเต็มเปี่ยมพระราชหฤทัย
ด้วยทรงมุ่งส่งเสริมให้จังหวัดจันทบุรีได้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูง เพื่อให้มีการศึกษาแก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดจันทบุรี
และจังหวัดใกล้เคียงกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวิทยาลัยครูจันทบุรี เมื่อวันที่
๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ เริ่มทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ วิทยาลัยได้รับพระราชทานตรา ศักดิเดชน์ ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นตราประจำวิทยาลัย
และปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ วิทยาลัย และปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ วิทยาลัยครูจันทบุรีก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เป็นนามของวิทยาลัย คือ วิทยาลัยรำไพพรรณี
|
|||
วันที่
๑๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯ
ได้พระราชทานนามใหม่ให้แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ คือ สถาบันราชภัฎ วิทยาลัยรำไพพรรณีจึงได้เปลี่ยนใช้นามใหม่ว่า
สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี ซึ่งปฎิบัติภารกิจในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
อันต้องกับพระราชประสงค์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
|
|||
![]() |
|||
มีข้อปลอบใจข้าพเจ้าอยู่ข้อหนึ่ง
คือสถานที่นี้ จะอยู่ในความอำนวยการของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งจะเปิดเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงนอกจากจะเป็นโอกาสให้เยาวชนชาวจันทบุรีได้รับการศึกษาชั้นสูง
โดยไม่ต้องย้ายไปอยู่ไกลบ้านแล้วยังจะชักจูงเยาวชนจากจังหวัดอื่น ให้มาศึกษาที่จังหวัดนี้
เช่นเดียวกับโรงพยาบาล อันเป็นที่เชิดหน้าชูตาและเพิ่มชื่อเสียงแก่จังหวัดจันทบุรีในต่อไปข้างหน้า
|
|||
เสด็จ ฯ คืนวังศุโขทัย | |||
เมื่อเสด็จพระราชดำนินกลับมาประทับ
ณ วังศุโขทัย กรุงเทพมหานครแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยการสนองพระราชประสงค์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในงานและพิธีต่าง
ๆ อยู่เนืองนิตย์ และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร
และพระราชทานความช่วยเหลือตามความเหมาะสมและตามควรแก่กรณี และในส่วนพระองค์นั้นก็ทรงเป็นพระบรมวงศ์ชั้นสูง
ซึ่งเป็นที่เคารพแห่งพระบรมราชวงศานุวงศ์โดยถ้วนทั่ว
|
|||
![]() |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่และทรงห่วงใยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
เป็นอย่างยิ่งสิ่งที่ทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอคือเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนและประทับพระสาธุรสชากับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
ณ วังศุโขทัย เป็นเนืองนิตย์
|
||
พระตำหนักชมแดง รมณีสถานส่วนพระองค์ | |||
เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
ทรงเจริญพระชนมพรรษาสูงขึ้น ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จฯ ไปประทับที่หัวหิน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ซื้อที่สร้างพระตำหนักที่ประทับและพระราชทานนามว่า
พระตำหนักชมดง ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ไม่ใหญ่โตนัก มีห้องต่าง ๆ เพียงไม่กี่ห้อง
ห้องพระบรรทมเป็นเพียงห้องเล็ก ๆ ไม่โอ่โถง ด้านซ้ายพระแท่นบรรทม มีวิมานติดที่ผนัง
ทรงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระโกศพระบรมอัฐิพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งอัญเชิญติดพระองค์ไปเสมอ เมื่อเสด็จ ฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ ที่ใดก็ตาม
|
|||
![]() |
|||
ด้านข้างพระตำหนักมีเฉลียงเป็นแนวยาวทั้ง
2 ข้าง ซึ่งทรงใช้เป็นที่เสวยพระสุธารรสชา ณ ที่นี้ทรงเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธออีกทั้งรับเสด็จฯ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
|
|||
ทรงพระประชวร | |||
![]() |
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ โปรดกีฬาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยเริ่มจากแบดมินตัน เทนนิสและกอล์ฟ ทรงออกกำลังพระวรกายอย่างสม่ำเสมอทั้งยังโปรดธรรมชาติอย่างยิ่ง ทำให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงตลอดมา จนกระทั่งพุทธศักราช ๒๕๑๘ ขณะทรงมีพระชนมพรรษาอายุได้ ๗๑ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงมีอาการประชวรด้วยพระโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ประชวร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ห่วงใยในพระอาการอยู่เสมอ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะแพทย์ศาสตร์เพื่อถวายการดูแลพำระอาการอย่างใกล้ชิด อีกทั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีก็ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมที่โรงพยาบาลและที่วังศุโขทัยมิได้ขาด พร้อมกับทรงจัดหาดอกไม้ประดับพระตำหนักและได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ของสวนจิตรลดา นำต้นไม้ไปปลูกถวายในบริเวณวังศุโขทัย โดยมีพระราชประสงค์ให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงพระเกษสำราญ | ||
วันแห่งความโศกสลดอันใหญ่หลวง | |||
และแล้วในวันที่
๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ อันเป็นวันที่ประชาชนชาวไทยต้องโศกสลดอย่างใหญ่หลวง
เมื่อสำนักพระราชวังได้ออกประกาศข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๗ ด้วยพระหทัยวาร โดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย
มีพระชนมพรรษา ๗๙ พรรษา ๕ ค่ำเดือน ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเศร้าสลดพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง
และทรงอาลัยระลึกถึงพระคุณูปการที่ทรงมีพระราชจริยวัตรตั้งอยู่ในสัจธรรมและขันติอย่างมั่นคง
เป็นที่เคารพสักการะอย่างยิ่งของพระองค์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดกล้าฯ
ให้สำนักงานพระราชวังจัดการพระบรมศพ ถวายเกียรติยศตามพระราชประเพณีประดิษฐานพระบรมศพ
ณ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง และทรงโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองพระบาทในราชสำนักงานไว้ทุกข์ถวาย
มีกำหนด ๑๐๐ วัน ตั้งแต่วันสวรรคตเป็นต้นไป
|
|||
![]() |
|||
แม้ว่า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๗ จะได้เสด็จสู่สรรคาลัยแล้วก็ตามแต่น้ำพระราชหฤทัยและพระเมตตาที่มีต่อทุกคน พระราชจริยวัตรอันงดงาม ตลอดจนพระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำเพื่อประชาชนมาโดยตลอดพระชนชีมน์ชีพ จักคงอยู่ในความทรงจำรำลึกถึงด้วยความเทิดทูนบูชาของประชาชนตลอดไป |
[ หน้าแรก ] [ พระราชประวัติ ] [ คณะกรรมการ ] [ สถาบันต่าง ๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุน ] [ ติดต่อเรา ]